การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

fb

มกราคม 12th, 2023

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

1. ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยคืออะไร ?

ระดับกลูโคสในเลือดคือปริมาณของกลูโคสที่อยู่ในเลือด เมื่อระดับดังกล่าวลดต่ำลงจนเกินไป จะเรียกว่าภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย ระดับกลูโคสในเลือดที่ต่ำมากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาโดยทันที
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องรักษาระดับกลูโคสในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป

2. จะรู้ว่ามีภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยได้อย่างไร ?

อาการและอาการแสดงเมื่อระดับกลูโคสในเลือดต่ำอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและอัตราการลดลงของระดับกลูโคสในเลือด
สัญญาณเตือนเมื่อกลูโคสในเลือดต่ำได้แก่ :

  • เหงื่อออก
  • หิวมาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • พูดไม่ชัด
  • หงุดหงิด
  • เวียนศีรษะ
  • เหนื่อย
  • ตามัว
  • ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
  • ตัวสั่น

บางครั้งภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยอาจรุนแรงจนทำให้คุณเป็นลมหรือชักได้
อย่าลืม : อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากระดับกลูโคสในเลือดต่ำเสมอไป ควรตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดทุกครั้งเมื่อรู้สึกไม่สบาย ห้ามเดาเองเด็ดขาด !
หากคุณมีภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยตอนกลางคืน คุณอาจร้องไห้ ฝันร้าย หรือเหงื่อออกตอนกลางคืน (อาจมีผ้าปูที่นอนและ/หรือชุดนอนเปียก) และอาจตื่นขึ้นมาด้วยอาการมึนงงหรือปวดหัว

3. ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

คุณอาจมีกลูโคสในเลือดต่ำได้เมื่อ :

  • ไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
  • ออกกำลังกายนานหรือหนักกว่าปกติโดยไม่ได้รับประทานอาหารเพิ่มเติม
  • ได้รับอินซูลินมากเกินไป
  • ฉีดอินซูลินในเวลาที่ไม่เหมาะสมเทียบกับมื้ออาหาร ของว่าง และการออกกำลังกาย
  • ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเรียกว่า ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยตอนกลางคืน
  • หลายชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย ซึ่งเรียกว่า ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยหลังการออกกำลังกาย
  • หลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะลดความสามารถของร่างกายในการรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติ ซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงอย่างฉับพลันได้ และยังมีผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ จากการใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติดด้วย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยอีกด้วย
ซึ่งได้แก่ :

  • การฉีดอินซูลินเข้ากล้ามเนื้อแทนที่จะฉีดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
  • การฉีดอินซูลินเข้าไปในส่วนของร่างกายที่ใช้บ่อยขณะเล่นกีฬา (เช่น การฉีดเข้าที่ต้นขาก่อนการฝึกซ้อมฟุตบอล)
    สถานการณ์ที่กล่าวมานี้จะเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

5. การตรวจระดับกลูโคสในเลือดต่ำ

วิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างแน่ชัดว่าคุณกำลังมีระดับกลูโคสในเลือดต่ำหรือไม่คือการตรวจวัด แต่หากคุณไม่สามารถตรวจระดับกลูโคสในเลือดได้ในทันที การรักษาตัวเองทันทีเมื่อสงสัยภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบางคนอาจไม่สามารถสังเกตอาการของระดับกลูโคสในเลือดต่ำได้ สำหรับพวกเขาแล้ว การตรวจระดับกลูโคสในเลือดบ่อย ๆ และการใช้มาตรการป้องกันระดับกลูโคสในเลือดต่ำนั้นจะยิ่งมีความสำคัญมาก (ดูคำแนะนำในการป้องกันด้านล่าง) หากคุณมีปัญหาในการรับรู้อาการของระดับกลูโคสในเลือดต่ำ โปรดแจ้งให้ทีมดูแลโรคเบาหวานของคุณทราบ

6. กลูโคสในเลือดต่ำ (ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย) รักษาอย่างไร ?

หากระดับกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มก./ดล. คุณต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

โดยคุณต้องทำตามขั้นตอนดังนี้ :

  • รับประทานน้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะหรือดื่มเครื่องดื่มรสหวานครึ่งแก้ว เช่น น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม (ที่ไม่ใช่สูตรไม่มีน้ำตาล) แล้วพัก 15 นาที หลังจากนั้นจึงตรวจกลูโคสในเลือด
  • หากระดับกลูโคสในเลือดของคุณสูงกว่า 70 มก./ดล. ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งใน 20-30 นาทีเพื่อยืนยันว่าระดับกลูโคสในเลือดอยู่ในเป้าหมายแล้ว (> 70 มก./ดล.)
  • หากระดับกลูโคสในเลือดของคุณยังคงต่ำกว่า 70 มก./ดล. ให้รับประทานน้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะอีกครั้งหรือดื่มน้ำหวานครึ่งแก้ว เช่น น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม (ที่ไม่ใช่สูตรไม่มีน้ำตาล) แล้วพัก 15 นาทีและตรวจระดับกลูโคสในเลือด

หากภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยเกิดขึ้นก่อนมื้ออาหาร (ซึ่งมักเป็นเวลาที่ต้องฉีดอินซูลิน) ควรรักษาภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยก่อน และเมื่อระดับกลูโคสในเลือด > 70 มก./ดล. แล้ว ค่อยให้อินซูลินตามปกติ ห้ามเว้นการฉีดอินซูลินเด็ดขาด โดยเฉพาะหากมีภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยในช่วงเช้าตรู่
หากพบคนมีอาการชักหรือหมดสติ อย่าให้รับประทานอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดการสำลักได้ (อาหารที่เข้าไปในทางเดินหายใจอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรงได้) คุณต้องไปแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาล


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

อ่านเพิ่มเติม

การจัดการโรคเบาหวานเมื่อคุณป่วย

การจัดการโรคเบาหวานเมื่อคุณป่วย

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

ดู

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

โปสเตอร์



ทำแบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบเรื่องภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยกัน !

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org