แนวทางในการติดตามกลูโคสในเลือดเป็นอย่างไร ?

fb

มกราคม 12th, 2023

แนวทางในการติดตามกลูโคสในเลือดเป็นอย่างไร ?

1. เครื่องมือที่คุณต้องใช้สำหรับการติดตามระดับกลูโคสในเลือดมีอะไรบ้าง ?

เครื่องวัดกลูโคสในเลือด
“เครื่องวัดนี้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่ใช้วัดระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งใช้เพียงเลือดหยดเล็ก ๆ จากนิ้วเท่านั้น
เครื่องวัดกลูโคสในเลือดควรเก็บรักษาตามคำแนะนำของผู้ผลิตและปรับค่าให้เป็นมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ วิธีการใช้งานอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง สามารถอ่านวิธีใช้ได้จากคู่มือผู้ใช้ หรือสอบถามแพทย์/พยาบาลของคุณเกี่ยวกับวิธีใช้และเก็บรักษาเครื่องวัดกลูโคสในเลือด”

แถบทดสอบกลูโคสในเลือด
ใช้แถบทดสอบที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องวัดรุ่นนั้น ๆ เท่านั้น แถบทดสอบแผ่นหนึ่งสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นหมายความว่าคุณจะต้องใช้แถบทดสอบแผ่นใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องการจะวัดระดับกลูโคสในเลือด ห้ามใช้แถบทดสอบที่หมดอายุแล้ว เก็บรักษาแถบทดสอบตามคำแนะนำ ห้ามเก็บแถบทดสอบไว้ในตู้เย็น

ที่เจาะปลายนิ้วและเข็มเจาะ
เข็มเจาะคือเข็มแหลมขนาดเล็กที่ใช้เจาะผิวหนัง คุณจะต้องมีที่เจาะนิ้วพร้อมเข็มเจาะเพื่อให้ได้หยดเลือดสำหรับการตรวจกลูโคสในเลือด

2. ฉันควรตรวจกลูโคสในเลือดเมื่อไหร่และบ่อยแค่ไหน ?

คุณควรตรวจกลูโคสในเลือดอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน แต่ควรตั้งเป้าไว้ที่ 6 ครั้งต่อวันหากมีแถบทดสอบเพียงพอ และให้บันทึกผลไว้ด้วย
“ควรวัดกลูโคสในเลือด :
1. เมื่อคุณตื่นนอน ก่อนรับประทานอาหารเช้า
2. ช่วงสาย ก่อนมื้อเที่ยง
3. ช่วงเย็น ก่อนมื้อเย็น
4. ก่อนเข้านอน

เมื่อเป็นไปได้ หากคุณมีแถบทดสอบเพียงพอ คุณสามารถตรวจวัดเพิ่มเติมได้ตอน :
5. 2.5 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเช้า
6. 2.5 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารกลางวัน”
คุณอาจตรวจระดับกลูโคสให้บ่อยขึ้นเมื่อคุณออกกำลังกายอย่างหนัก (ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และสามถึงสี่ชั่วโมงหลังออกกำลังกาย) บางครั้งก็อาจตรวจช่วงกลางคืนเพื่อดูว่ามีระดับกลูโคสในเลือดสูงหรือต่ำตอนกลางคืนหรือไม่ หรือตรวจเมื่อคุณเจ็บป่วยเพื่อป้องกันภาวะเลือดมีน้ำตาลมากขั้นวิกฤติ การตรวจวัดเพื่อยืนยันภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย (ระดับกลูโคสในเลือดต่ำ) และเฝ้าสังเกตอาการของคุณก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
ระดับกลูโคสในเลือดที่ควบคุมได้ไม่ดี นอกจากจะนำไปสู่ปัญหาระยะสั้น เช่น ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดภาวะต่าง ๆ ที่อันตรายถึงชีวิตได้ด้วย เช่น ภาวะกรดเกินจากคีโทน และโคม่าจากโรคเบาหวาน

3. ความสำคัญของการตรวจให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

การจัดการโรคเบาหวานให้สำเร็จได้ต้องอาศัยการติดตามกลูโคสในเลือดด้วยตนเองให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ คุณสามารถตั้งเป้าไว้ที่ 6 ครั้งต่อวันได้หากคุณมีแถบทดสอบเพียงพอ ควรส่งผลการตรวจให้แพทย์คอยตรวจสอบเรื่อย ๆ เพื่อดูรูปแบบความผันผวนของระดับกลูโคสในเลือด แพทย์จะได้นำมาปรับแผนการรักษาโรคเบาหวานให้เหมาะสมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่มีแถบทดสอบพอ 6 แผ่นสำหรับทุกวัน ถ้าคุณมีน้อย พยายามตรวจอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน ซึ่งคือก่อนอาหารแต่ละมื้อและก่อนนอน และคุณอาจปรึกษาแพทย์เรื่องนี้ได้ด้วยเช่นกัน

4. การตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดทำอย่างไร ?

1. ล้างและเช็ดมือให้สะอาด
2. นำแถบทดสอบใส่เข้าไปในเครื่องวัดกลูโคสในเลือด
3. ใช้เข็มเจาะนิ้ว
4. หยดเลือดลงบนแถบทดสอบจนกว่าเลือดจะถูกดูดเข้าไปเพียงพอที่จะเริ่มการวัดค่า
5. เครื่องวัดกลูโคสในเลือดจะแสดงผลภายในไม่กี่วินาที
6. บันทึกผลที่ได้ลงในสมุด
7. ทิ้งแถบทดสอบและเข็มเจาะที่ใช้แล้วในภาชนะที่เหมาะสม เก็บเครื่องวัดกลูโคสในเลือด
คำแนะนำ : การเลือกจุดเจาะ—อย่าเจาะเลือดจากนิ้วเดิมตลอด การเจาะด้านข้างของปลายนิ้วอาจเจ็บน้อยกว่าผิวด้านหน้านิ้ว

5. อ่านผลที่ได้อย่างไร ?

ระดับกลูโคสในเลือดที่ดีควรจะอยู่ระหว่าง 70 – 180 มก./ดล.
– ช่วงตื่นนอนและก่อนรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ควรอยู่ระหว่าง 70 – 130 มก./ดล.
– ช่วงหลังอาหารและก่อนนอน ควรอยู่ระหว่าง 90 – 180 มก./ดล.
คุณจะมีเป้าหมายระดับกลูโคสในเลือดเฉพาะตัวคุณเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาช่วงที่เหมาะสมกับคุณ
ถ้าอ่านค่าได้ต่ำกว่า 70 มก./ดล. ให้รักษาเป็นภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย (ระดับกลูโคสในเลือดต่ำ) โปรดศึกษาแผ่นข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
บางครั้งอาการของภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยอาจเกิดขึ้นได้แม้ค่าจะสูงกว่า 70 มก./ดล. ซึ่งก็ยังควรรักษาเป็นภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยเช่นกัน

หมายเหตุ :
– หากระดับกลูโคสในเลือดก่อนอาหารสูงเป็นประจำ แสดงว่าปริมาณอินซูลินที่ใช้ก่อนหน้าอาจต่ำเกินไป
– หากระดับกลูโคสในเลือดก่อนอาหารต่ำเป็นประจำ แสดงว่าปริมาณอินซูลินที่ใช้ก่อนหน้าอาจสูงเกินไป
– หากระดับกลูโคสในเลือดก่อนอาหารสูงบ้างต่ำบ้าง อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ปริมาณอินซูลิน อาหารที่รับประทาน และการออกกำลังกาย
ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะเหล่านี้

6. HbA1c คืออะไร ?

แพทย์จะตรวจ HbA1c ทุก 3 เดือน ผลการตรวจนี้จะบ่งบอกถึงระดับกลูโคสในเลือดโดยเฉลี่ยในช่วงสองถึงสามเดือนที่ผ่านมา ยิ่งระดับ HbA1c สูง ยิ่งแสดงถึงการควบคุมระดับกลูโคสในเลือดที่ไม่ดี และยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมากขึ้น
หากคุณติดตามระดับกลูโคสในเลือดด้วยตนเองได้ดี แพทย์จะตั้งเป้าระดับ HbA1c ไว้ต่ำกว่า 7%
หากระดับปัจจุบันเกิน 7.5% สิ่งที่คุณควรรู้คือการลดระดับ HbA1c จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระยะยาว การควบคุมที่ดีสามารถทำได้โดยการหมั่นตรวจกลูโคสในเลือดเป็นประจำ


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

https://www.lifeforachild.org/component/attachments/attachments.html?task=download&id=685

https://care.diabetesjournals.org/content/42/Supplement_1/S148

https://www.as1diabetes.com.au/wp-content/uploads/2019/01/v2-23-AS-1-Diabetes-Multi-Cultural-Resources-Blood-Glucose.pdf

อ่านเพิ่มเติม

แนวทางการใช้อินซูลิน

แนวทางการใช้อินซูลิน

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ดู

ทำไมเราถึงต้องตรวจระดับกลูโคสในเลือด ?

ทำไมเราถึงต้องตรวจระดับกลูโคสในเลือด ?

ตรวจระดับกลูโคสในเลือดของคุณอย่างไร ?

ตรวจระดับกลูโคสในเลือดของคุณอย่างไร ?

โปสเตอร์



ทำแบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบเรื่องการติดตามกลูโคสในเลือดกัน !

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org