การใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 : การจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ

fb

พฤศจิกายน 6th, 2022

การใช้ชีวิตกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 : การจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ

1. การทำความเข้าใจเเละยอมรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายเเละจิตใจ ผู้ใหญ่ตอนต้นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาจกังวลเกี่ยวกับการจัดการโรคในแต่ละวันเเละผลกระทบต่อชีวิตในอนาคต
เนื่องจากชีวิตในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาในการเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองเเละวางเเผนสำหรับอนาคต เช่น การเรียนในมหาวิทยาลัย การทำงาน หรือการสร้างครอบครัว
การรู้สึกเศร้า โกรธ หรือหงุดหงิด ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะคุณอาจรู้สึกว่าทำไมคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกันถึงไม่ต้องเผชิญปัญหาเหมือนกับคุณ เเต่ขอให้มั่นใจได้เลยว่า
ยิ่งคุณดูแลตนเองและควบคุมอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ดี คุณจะยิ่งรู้สึกว่าสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้เหมือนวัยรุ่นคนอื่น ๆ
บางครั้งการเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณอาจรู้สึกเศร้า เเละคุณอาจเเสร้งว่าอาการทั้งหมดไม่มีอยู่จริง เเต่โปรดเข้าใจว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการเปิดใจ เเละอยู่กับโรคนี้เสมือนเป็นเพื่อนของคุณ ไม่ใช่ศัตรู เพราะความเศร้าเเละความโกรธไม่สามารถช่วยเหลือคุณได้ในระยะยาว ดังนั้นการพยายามไม่นึกถึงหรือไม่พูดถึงโรคเบาหวานมีเเต่จะทำให้ทุกอย่างเเย่ลง
ดังนั้นอย่าเป็นเพื่อนที่แย่กับโรคของคุณ ให้เป็นเพื่อนที่ใส่ใจเเละสนใจในตัวโรค พูดคุยกับคนใกล้ชิดทุกวัน วิธีนี้จะทำให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเเละการปฏิบัติตัวเพื่อให้ควบคุมโรคได้ดีที่สุด
เเม้ว่านี่จะเป็นช่วงเวลาของชีวิตที่คุณอยากแสดงออกถึงความมีอิสระในการใช้ชีวิต เเต่ให้จำไว้ว่าผู้ปกครองของคุณยังรักเเละเป็นห่วงคุณเสมอ คุณสามารถระบายความรู้สึกกับพวกท่านได้ การเป็นอิสระสามารถเกิดควบคู่ไปกับการได้รับการสนับสนุนได้

2. การเป็นอิสระ

เมื่อคุณเติบโตขึ้น คุณอาจเริ่มนึกถึงชีวิตที่เป็นอิสระจากครอบครัวของคุณมากขึ้น แต่คุณก็จะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นและต้องดูแลโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชีวิตของคุณเอง ลองใช้เวลาพิจารณาให้ถี่ถ้วน แล้วจัดการความท้าทายต่าง ๆ ให้สำเร็จทีละอย่าง คุณไม่ต้องรีบ เพราะการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
ความสามารถในการปรับกิจวัตรประจำวันให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่จะเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการใช้ชีวิตด้วยตนเองอย่างมีความรับผิดชอบ

การดูเเลสุขภาพจิต
เนื่องจากการใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งคุณอาจรู้สึกเศร้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ปกติมาก
– ภาวะซึมเศร้า
หากความรู้สึกเศร้าไม่หายไป คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้า การมีภาวะซึมเศร้าร่วมกับโรคเบาหวานอาจพบได้บ่อยมากกว่าที่คุณคิด – ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานถึงสองเท่า
ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกสิ้นหวัง และเมื่อคุณรู้สึกยากที่จะมีความรู้สึกที่ดีต่อชีวิตของคุณ คุณอาจอยากแยกตัวจากสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่คุณควรรู้ไว้ว่าบางครั้งคุณก็ไม่ได้รู้สึกเช่นนี้อยู่คนเดียว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือความสามารถในการสังเกตสัญญาณของภาวะซึมเศร้าและระบายให้ครอบครัวและแพทย์ของคุณรับฟัง
– ความกังวลในโรคเบาหวาน
บางครั้งคุณอาจรู้สึกคับข้องใจ รู้สึกผิด หรือกังวล คุณอาจจะรู้สึกกังวลบ่อย ๆ กับภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หากความรู้สึกเหล่านี้ไม่หายไปหรือเริ่มที่จะมีผลต่อชีวิตประจำวันของคุณ การแบ่งปันเรื่องนี้กับใครสักคนจะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นเรื่องที่เข้าใจได้หากคุณรู้สึกเช่นนี้ในบางเวลา – คุณไม่ได้โดดเดี่ยว
– อารมณ์เเละอาหาร
“โรคเบาหวานทำให้คุณต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เเต่บางครั้งก็อาจทำให้เครียดได้ บางคนรู้สึกว่ายิ่งเครียดก็จะยิ่งรับประทานอาหารเยอะ เเต่ก็มีบางคนที่เมื่อรู้สึกเเย่ก็จะรับประทานอาหารได้น้อยลง การรับประทานอาหารต่าง ๆ ก็สามารถส่งผลต่ออารมณ์ของคุณได้ด้วย

บางครั้งคุณอาจใส่ใจในเรื่องของน้ำหนักและภาพลักษณ์มากจนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่ออาหาร ซึ่งอาจเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ สิ่งนี้เป็นปัญหารุนแรงที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หากคุณมีปัญหานี้ คุณควรให้ความสำคัญและรับความช่วยเหลือจากทีมดูแลโรคเบาหวานของคุณ

การมองไปข้างหน้า
การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือการเตรียมตัวสำหรับขาขึ้นและขาลงของชีวิต แม้ว่าคุณจะปรับตัวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แล้ว คุณอาจยังมีอุปสรรคต่าง ๆ เช่นบางครั้งระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะสูงหรือต่ำเกินไป เเม้ว่าคุณจะปฏิบัติตามคำเเนะนำของเเพทย์เเล้วก็ตาม
พยายามอดทนเเละมองหาสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตด้วย เช่น มีความมั่นใจ กล้าหาญ เเละภูมิใจกับสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้
อารมณ์ด้านบวกก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการปรับตัวได้เช่นกัน ในขณะที่คุณกำลังปรับตัวกับโรคเบาหวาน คุณอาจพบว่าคุณมีความมั่นใจ มีความมุ่งมั่น มีความหวัง โล่งใจ ได้รับการสนับสนุน มีความแข็งแกร่ง และมีความสุขด้วย
ในไม่ช้า คุณจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรับรู้และจัดการอารมณ์และดูแลสุขภาพของคุณเอง การเป็นโรคเบาหวานอาจช่วยสอนวิธีการรับมือและปรับตัวกับความท้าทายต่าง ๆ ในชีวิตให้คุณได้ดีกว่าคนอื่น ๆ เสียอีก แต่หากมีสิ่งที่สำคัญสิ่งเดียวที่คุณควรได้จากการอ่านบทความนี้ โปรดจำไว้ว่า ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในร่างกาย และเป็นช่วงเวลาที่การควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะมีความสำคัญมากหากคุณต้องการที่จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคเบาหวานในอนาคต
อย่ากลัวไป เพียงเเค่ยอมรับความจริง เเละควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ นั่นคือทุกอย่างที่เราทำได้ในตอนนี้ สิ่งที่จะขัดขวางคุณมีเพียงตัวคุณเองเท่านั้น !


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

Paediatric Diabetes – ISPAD, 2014.pdf

https://www.diabetes.org/diabetes/type-1/mental-health#:~:text=People%20with%20type%201%20diabetes,of%20someone%20who%20has%20diabetes.

https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/emotions

Emotional wellbeing

https://kidshealth.org/en/teens/feelings-diabetes.html?WT.ac=p-ra

อ่านเพิ่มเติม

อินซูลินคืออะไรและมีชนิดอะไรบ้าง ?

อินซูลินคืออะไรและมีชนิดอะไรบ้าง ?

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ทำความเข้าใจโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ทำความเข้าใจโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ดู

ทำความเข้าใจโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ทำความเข้าใจโรคเบาหวานชนิดที่ 1

โปสเตอร์

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org