อินซูลินคืออะไรและมีชนิดอะไรบ้าง ?

fb

มกราคม 12th, 2023

อินซูลินคืออะไรและมีชนิดอะไรบ้าง ?

1. อินซูลินคืออะไร ?

อินซูลินคือฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับของกลูโคส (น้ำตาลชนิดหนึ่ง) ในเลือด ตับอ่อนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นผลิตอินซูลินได้เพียงเล็กน้อยหรือผลิตไม่ได้เลย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกรายจำเป็นต้องใช้อินซูลิน โดยการฉีดอินซูลินเข้าใต้ผิวหนัง
เป้าหมายโดยรวมของการรักษาโดยใช้อินซูลิน คือ เพื่อให้ปริมาณอินซูลินที่ได้รับสัมพันธ์กับปริมาณอินซูลินที่คนคนหนึ่งต้องการตลอดวัน การทำเช่นนี้จะทำให้สามารถรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากโรคเบาหวานได้ เมื่อคุณเริ่มใช้อินซูลินช่วงแรก ๆ อาจต้องใช้เวลานานพอสมควรในการหาขนาดยาที่เหมาะสม คุณจะต้องตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดหลายครั้งต่อวัน แพทย์ของคุณจะใช้ข้อมูลที่ได้มานี้ช่วยคุณในการปรับขนาดยาไปเรื่อย ๆ
ชนิดของอินซูลินและปริมาณที่คุณต้องใช้ในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับแผนการจัดการโรคเบาหวานของคุณเอง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบางคนอาจต้องฉีดอินซูลินวันละสองครั้ง บางคนอาจต้องฉีดหลายครั้งเพื่อให้ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดได้ แพทย์ของคุณจะช่วยคุณในการตัดสินใจว่าวิธีใดเหมาะสมสำหรับคุณ

2. อินซูลินชนิดต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ?

ชนิดออกฤทธิ์สั้น
อินซูลินออกฤทธิ์สั้นจะช่วยควบคุมระดับกลูโคสในเลือดที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร อินซูลินชนิดนี้ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วแต่มีฤทธิ์เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เวลาที่แน่นอนในการฉีดอินซูลินออกฤทธิ์สั้นนั้นขึ้นอยู่กับเวลามื้ออาหารของคุณ โดยปกติจะฉีดในช่วง 30 นาทีก่อนรับประทานอาหาร ขึ้นอยู่กับชนิดของอินซูลินที่คุณใช้

ชนิดออกฤทธิ์ยาว
อินซูลินออกฤทธิ์ยาวจะออกฤทธิ์ช้าและมีฤทธิ์นานเกือบหนึ่งวัน อินซูลินชนิดนี้จะทำหน้าที่ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดระหว่างมื้ออาหาร ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดคงที่ตลอดทั้งวัน มักจะใช้ฉีดเวลาก่อนเข้านอน โดยเวลาที่แน่นอนในการฉีดนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของอินซูลินที่คุณใช้ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลของคุณเกี่ยวกับเรื่องนี้

3. ความสำคัญของเวลาในการฉีด

คุณไม่สามารถ “หยุด” การออกฤทธิ์ของอินซูลินได้เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม ดังนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องแน่ใจว่าคุณใช้อินซูลินในปริมาณที่ถูกต้องและในเวลาที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องรับประทานอาหารช้ากว่าปกติเพราะคุณจะออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านกับเพื่อน ๆ คุณอาจต้องเลื่อนการฉีดอินซูลินออกไป รับประทานของว่างเล็กน้อยในช่วงเวลาอาหารปกติของคุณ แล้วฉีดอินซูลินในภายหลัง

การปฏิบัติตามแผนมื้ออาหารทุกวัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการใช้ยา จะช่วยให้คุณรักษาระดับกลูโคสในเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้ และจะช่วยให้รู้ว่าต้องใช้อินซูลินปริมาณเท่าใดได้ง่ายขึ้น หากคุณไม่แน่ใจว่าจะปรับขนาดอินซูลินของคุณให้เหมาะสมกับอาหารหรือการออกกำลังกายอย่างไร ให้สอบถามผู้ปกครองหรือสมาชิกทีมผู้ดูแลโรคเบาหวานของคุณ

แม้ว่าคุณจะทำทุกอย่างที่ควรทำแล้ว แต่บางครั้งระดับกลูโคสในเลือดก็ยากที่จะควบคุมได้ ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจมีบางครั้งที่ปริมาณอินซูลินที่ได้รับมากหรือน้อยเกินไปเทียบกับความต้องการของร่างกาย และอาจทำให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงหรือต่ำเกินไปได้

ปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ที่ใช้อินซูลินคือกลูโคสในเลือดต่ำ หรือที่เรียกว่าภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย ซึ่งอาจเกิดได้ทุกเมื่อ แต่จะมีโอกาสเกิดมากขึ้นหากรับประทานอาหารน้อยหรือออกกำลังกายมากกว่าปกติ ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อยยังมีโอกาสที่จะเกิดมากขึ้นในช่วงสัปดาห์หรือเดือนแรก ๆ หลังจากที่เริ่มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 อีกด้วย

หากกลูโคสในเลือดของคุณต่ำเกินไปเป็นประจำ อาจหมายความว่าคุณต้องปรับขนาดอินซูลินหรือแผนมื้ออาหารของคุณ หากเป็นเช่นนี้ ให้ติดต่อทีมผู้ดูแลโรคเบาหวานของคุณ พวกเขาจะช่วยคุณในการวางแผนควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

https://www.lifeforachild.org/education-resources/multilingual-resources/21-english.html

Download: “Insulin and Type 1 Diabetes”

https://kidshealth.org/en/teens/medicines-diabetes.html?WT.ac=ctg

https://www.hormone.org/diseases-and-conditions/diabetes/medicines-and-treatment/mealtime-insulin

https://www.verywellhealth.com/basal-and-bolus-insulin-3289548

อ่านเพิ่มเติม

แนวทางการใช้อินซูลิน

แนวทางการใช้อินซูลิน

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ทำไมฉันถึงต้องติดตามระดับกลูโคสในเลือด ?

ดู

อินซูลินคืออะไร ?

อินซูลินคืออะไร ?

ฉีดโดยใช้ขวดอินซูลินอย่างไร ?

ฉีดโดยใช้ขวดอินซูลินอย่างไร ?

ฉีดโดยใช้ปากกาอินซูลินอย่างไร ?

ฉีดโดยใช้ปากกาอินซูลินอย่างไร ?

โปสเตอร์



ทำแบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบเรื่องอินซูลินกัน !

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org