ทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและคาร์โบไฮเดรต

fb

มกราคม 12th, 2023

ทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและคาร์โบไฮเดรต

1. ทำไมเราจึงต้องกินและดื่ม ?

อาหารที่เรารับประทานมีความสำคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีแก่ร่างกายเรา
อาหารประกอบไปด้วยสารอาหารหลักสามอย่าง : คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน รวมถึงสารอาหารรองอื่น ๆ อย่างเช่น วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันควรมีสารอาหารเหล่านี้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้เราควรดื่มน้ำให้มากเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพออีกด้วย

“- คาร์โบไฮเดรต : แหล่งพลังงานหลักสำหรับสมองและร่างกาย
– โปรตีน : ช่วยในการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อร่างกาย
– ไขมัน : ให้พลังงานสำหรับการเติบโตและการออกกำลังกาย
– วิตามินและแร่ธาตุ : ควบคุมการทำงานของร่างกายและส่งเสริมให้สุขภาพดี”

2. ทำความเข้าใจคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมระดับกลูโคสในเลือด

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตทุกชนิด แต่ควรเรียนรู้การรับประทานคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่พอดีและการแยกแยะระหว่างคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีและไม่ดี ซึ่งคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดีอาจส่งผลเสียต่อการควบคุมโรคเบาหวานได้
คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดี เช่น ผักใบเขียว จะมีน้ำตาลธรรมชาติ ซึ่งทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี เช่น ขนมหวานหรือน้ำหวาน จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นเร็วเกินไป
การหาวิธีสร้างสมดุลระหว่างคาร์โบไฮเดรต อินซูลิน และการออกกำลังกาย จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความสุขกับการรับประทานอาหารและมีสุขภาพที่ดีไปพร้อมกันได้

3. คาร์โบไฮเดรตมีอยู่ในอะไรบ้าง ?

– ธัญพืชและแป้ง : เช่น ข้าว ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง ฟักทอง เผือก
– นมและผลิตภัณฑ์นม : เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง
– ผลไม้ : เช่น มะละกอ มะม่วง สับปะรด แตงโม ส้ม
– ผักที่ไม่มีแป้ง : เช่น มะเขือ มะเขือเทศ แตงกวา ผักใบเขียว เห็ด
“- อาหารที่มีน้ำตาลสูงและน้ำหวาน: เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ นมรสหวาน ลูกอม เค้ก มันฝรั่งทอด
น้ำตาลจากอาหารเหล่านี้มักจะอันตราย ! เนื่องจากอาจทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นสูงเกินไป !”

4. ค่าดัชนีน้ำตาล

ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นกลูโคสและปล่อยสู่กระแสเลือดหลังจากรับประทานอาหารจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาหารและชนิดของคาร์โบไฮเดรต
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตบางชนิดจะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นเร็วกว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ๆ
ค่าดัชนีน้ำตาลจะช่วยบอกว่าอาหารแต่ละชนิดทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นสูงและเร็วขนาดไหน
อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดขึ้นเร็วกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ตารางด้านล่างนี้จะแสดงให้เห็นถึงค่าดัชนีน้ำตาลของอาหารหลัก ผลไม้ และผัก ที่คนไทยส่วนใหญ่รับประทาน :
หมวดสีเหลือง – ควรรับประทานเพิ่ม
หมวดสีส้ม – ควรรับประทานพอประมาณ
หมวดสีแดง – ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานตามสัดส่วนที่แนะนำ

 

นอกจากการเตรียมอาหารที่มีสัดส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ที่พอดีแล้ว คุณยังสามารถช่วยให้ระดับกลูโคสในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระดับที่เหมาะสมได้โดยการ :
– ตรวจระดับกลูโคสในเลือดอย่างสม่ำเสมอ (4 ครั้ง/วัน)
– ส่งเสริมให้ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีทุกวัน – มาร่วมออกกำลังกายกับผู้ป่วยด้วยเพื่อสุขภาพที่ดี !
– ให้อินซูลินในปริมาณและเวลาที่ถูกต้อง
– วางแผนมื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตตามคำแนะนำจากแพทย์/พยาบาล


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

Cambodia Camp_A4D-Diet Control for Diabetes (Mrs. Roeurn Yary).pptx

Laos Camp_Basic Nutrition & Understanding of Carbohydrate.pptx

02_Basic Nutrition & Understanding of Carbohydrate.pptx

https://kidshealth.org/en/parents/carbs-diabetes.html?WT.ac=p-ra

อ่านเพิ่มเติม

คำแนะนำในการออกกำลังกาย

คำแนะนำในการออกกำลังกาย

จะวางแผนมื้ออาหารที่ดีอย่างไร ?

จะวางแผนมื้ออาหารที่ดีอย่างไร ?

ดู

การศึกษาเรื่องโภชนาการ

การศึกษาเรื่องโภชนาการ

โปสเตอร์



ทำแบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบเรื่องโภชนาการกัน !

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org