การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

fb

มกราคม 12th, 2023

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

1. ภาวะเลือดมีน้ำตาลมากคืออะไร ?

ระดับกลูโคสในเลือดคือปริมาณของกลูโคสที่อยู่ในเลือด เมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูงเกิน 250 มก./ดล. จะเรียกว่าภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก ระดับกลูโคสในเลือดที่สูงมากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยทันที
หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะเลือดมีน้ำตาลมากอาจรุนแรงขึ้นและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลฉุกเฉิน เช่น โคม่าจากโรคเบาหวาน
การมีกลูโคสในเลือดมากเกินไปเป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท หลอดเลือด และอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ได้ ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย ตาบอด บาดแผลเรื้อรัง และการต้องตัดขา

2. จะรู้ว่ามีภาวะเลือดมีน้ำตาลมากได้อย่างไร ?

อาการและอาการแสดงเมื่อกลูโคสในเลือดสูงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

คุณอาจรู้สึกหรือมีอาการดังต่อไปนี้หากคุณมีกลูโคสในเลือดสูง :

  • กระหายน้ำตลอดเวลา
  • ต้องปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
  • ตามัว
  • เหนื่อยมากตลอดเวลา
  • ปากแห้ง

ในกรณีที่กลูโคสในเลือดสูงอย่างรุนแรง คุณอาจมีอาการ :

  • คลื่นไส้
  • ปวดท้อง
  • หายใจผิดปกติ
  • ลมหายใจกลิ่นคล้ายแอลกอฮอล์

บางครั้งภาวะเลือดมีน้ำตาลมากอาจรุนแรงมากจนทำให้เป็นลมหรือหมดสติได้ หากคุณมีอาการที่กล่าวมา ควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล/คลินิก

3. ภาวะเลือดมีน้ำตาลมากเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

การจัดการกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือการสร้างสมดุลระหว่างสามสิ่ง เนื่องจากคุณจะต้องดูปริมาณอินซูลินที่ใช้ อาหารที่รับประทาน และการออกกำลังกาย

ทั้งสามสิ่งนี้ต้องสมดุลกัน หากมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่พอดี ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติได้ โดยทั่วไปแล้วระดับกลูโคสในเลือดที่สูงกว่าปกติอาจเกิดได้จาก :

  • การไม่ใช้อินซูลินเมื่อคุณจำเป็นต้องใช้หรือใช้ไม่ถูกขนาด
  • อินซูลินหมดอายุหรือถูกเก็บผิดวิธี
  • การไม่ทำตามแผนมื้ออาหาร (เช่น การรับประทานอาหารหรือของว่างบ่อยเกินไป)
  • การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต/น้ำหวานมากเกินไป
  • การออกกำลังกายน้อยกว่าปกติ
  • การติดเชื้อ การเจ็บป่วย หรือการมีประจำเดือน
  • อารมณ์ เช่น ความตื่นเต้นหรือความเครียด
  • อาจเกิดชั่วคราวระหว่างหรือหลังการออกกำลังกายที่หนักเกินไป
  • การใช้ยาชนิดอื่นที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาสำหรับโรคเบาหวาน

4. การตรวจระดับกลูโคสในเลือดสูง

ส่วนหนึ่งของแผนการจัดการโรคเบาหวานคือการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดหลายครั้งต่อวันด้วยเครื่องวัดกลูโคส การทำเช่นนี้จะช่วยให้ทราบได้ว่าคุณมีระดับกลูโคสในเลือดสูงหรือไม่ ซึ่งอาจไม่ได้ทำให้เกิดอาการเสมอไป บางคนที่ไม่ได้ตรวจวัดอย่างสม่ำเสมออาจมีระดับกลูโคสในเลือดที่สูงจนก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัวได้
หากคุณพบว่าตนเองมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่บ่อยครั้ง แพทย์หรือพยาบาลอาจเสนอให้เปลี่ยนขนาดของอินซูลินที่ใช้หรือเปลี่ยนแผนมื้ออาหาร เพื่อที่จะปรับระดับให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม

5. กลูโคสในเลือดสูง (ภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก) รักษาอย่างไร ?

หากกลูโคสในเลือดของคุณสูงกว่า 250 มก./ดล. คุณต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

โดยคุณต้องทำตามขั้นตอนดังนี้ :

  • ตรวจระดับกลูโคสในเลือดแล้วฉีดอินซูลินออกฤทธิ์สั้น
  • ติดต่อแพทย์/พยาบาลของคุณเพื่อสอบถามว่าคุณควรได้รับอินซูลินเพิ่มปริมาณเท่าใดหรือหากคุณไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไรต่อไป
  • ดื่มน้ำปริมาณมาก (อย่างน้อย 1 แก้วต่อชั่วโมง)
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก
  • ตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดหลังผ่านไป 2 ชั่วโมง

หากระดับกลูโคสในเลือดยังคงสูงเกิน 250 มก./ดล. ให้ติดต่อแพทย์/พยาบาลของคุณทันที
หากระดับกลูโคสในเลือดของคุณสูงเกิน 400 มก./ดล. แสดงว่าคุณมีภาวะเลือดมีน้ำตาลมากรุนแรง ให้ฉีดอินซูลินออกฤทธิ์สั้นทันที (10% ของปริมาณอินซูลินต่อวัน) ติดต่อแพทย์/โรงพยาบาลทันที


HelloType1 content is curated for the topics using information only taken from accredited sources such as the International Diabetes Foundation (IDF) and the International Society for Paediatric and Adolescent Diabetes (ISPAD).

This content is then reviewed and adapted by a panel consisting of healthcare experts (e.g. endocrinologist, nutritionist, diabetes nurse, psychologist) and members of the South-East Asia T1D communities, helping ensure the information is appropriate in a local context.

Writers of HelloType1 content:
Anne-Charlotte Ficheroulle, Pharmacist, Digital Innovation Manager at A4D
Charlotte O’Brian Gore, Research assistant ImmunoEngineering, King’s College. UK

Content Reviewers – healthcare professionals:
Dr. May Ng, Paediatric Endocrinologist, Chief Medical Advisor A4D, UK
Dr. Yeow Toh Peng, Endocrinologist, Malaysia
Dr Jaturat Petchkul, Paediatric Endocrinologist, Thailand
Dianna Culbertson, Physician Assistant T1D care, US
Prof Dr Malene Iv, Endocrinologist, Kantha Bopha Hospital, Cambodia
Steffen Tange, Consultant Psychology, Denmark
Soe Nyi Nyi, Nutritionist, Myanmar
Lucas Lim, Dietician, Malaysia

Content Reviewers – people with Type 1 Diabetes:
Jerry Gore, Co-Founder A4D, Mountaineer, UK
Diana Maynard, T1D advocate, UK
Emelyne Carmen Ho, College Student, Malaysia
Molly Seal, College Student, UK

Content Reviewers – parents with T1D child:
Samantha Seal, Teacher, Thailand
Kim Than, Deputy Country Director – Plan International, Cambodia

อ่านเพิ่มเติม

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย

การดูแลผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อเจ็บป่วย

การดูแลผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เมื่อเจ็บป่วย

ดู

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

การจัดการภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก

โปสเตอร์



ทำแบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบเรื่องภาวะเลือดมีน้ำตาลมากกัน !

A4D

UK Registered Charity: 1166447
9, Parkfield Road, Taunton, Somerset
TA1 4RL, United Kingdom
admin@action4diabetes.org