
ข้อมูล T1D
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
คำแนะนำในการใช้ อินซูลิน
เรียบเรียงโดย: 23.04.2025
อินซูลินที่ยังไม่ได้เปิดใช้ หรืออินซูลินขวดใหม่ – เก็บอินซูลินที่ยังไม่ได้ใช้ ไว้ในตู้เย็นหรือหม้อดินเผาที่ฝังเอาไว้ในทรายเปียก
อินซูลินที่กำลังใช้อยู่หรือเปิดแล้ว – เก็บอินซูลินที่กำลังใช้ ไว้ในอุณหภูมิห้อง โดยห้องควรมืดและเย็น (อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส) และโดยปกติเก็บได้นาน 30 วัน
ห้ามให้อินซูลินถูกแสงแดดโดยตรงหรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ดังนั้นอย่าลืมทิ้งอินซูลินไว้นอกบ้าน ในรถหรือบริเวณใกล้เตา ห้ามแช่แข็งอินซูลินโดยเด็ดขาด รวมทั้งห้ามนำอินซูลินใส่ในช่องแช่แข็ง และห้ามใช้อินซูลินที่หมดอายุแล้ว
ตรวจสอบขวดหรือหลอดอินซูลินอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าอินซูลินมีลักษณะปกติก่อนที่จะใช้กระบอกฉีดยาดูดอินซูลินขึ้นมา
เคล็ดลับการใช้ อินซูลิน
– เก็บขวดหรือหลอดอินซูลินสำรองไว้ในกล่องภายในตู้เย็น
– เมื่อเปิดใช้ขวดครั้งแรก ให้เขียนวันที่ไว้บนฉลากของขวดอินซูลิน
– หลีกเลี่ยงการเขย่าขวดและหลอดอินซูลินแรงเกินไป
การฉีดอินซูลิน ต้องฉีดเข้าไปในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง จุดทั้ง 4 จุดที่ปลอดภัยสำหรับการฉีดอินซูลิน ได้แก่:
1. ต้นขา: บริเวณหน้าขา อย่าฉีดบริเวณด้านในหรือด้านหลังของต้นขา
2. ต้นแขน: บริเวณเนื้อด้านข้างและด้านหลังของแขน หลีกเลี่ยงบริเวณกล้ามเนื้อและไหล่
3. หน้าท้อง: ทั่วหน้าท้องตั้งแต่ด้านล่างซี่โครงไปจนถึงแนวใต้เข็มขัด
4. ก้น: บริเวณก้นด้านบน
อย่าลืมสลับตำแหน่งในการฉีดทุกครั้ง โดยวนไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย การฉีดในบริเวณเดิมซ้ำๆนั้นอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบวมได้
ชนิดขวด
1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2. เตรียมกระบอกฉีดยา สำลี และแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อให้พร้อม
3. คลึงขวดอินซูลินไปมาระหว่างมือทั้งสองข้าง
4. ทำความสะอาดขวดด้วยแอลกอฮอล์
5. ดูดอากาศเข้ามาในกระบอกฉีดยา
6. ดันอากาศเข้าไปในขวดแล้วดูดอินซูลินเข้ามาในกระบอกฉีดยา
7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีอากาศอยู่ภายในกระบอกฉีดยา
8. ฉีดอินซูลิน ในบริเวณที่เหมาะสมของร่างกาย
9. ทิ้งกระบอกฉีดยาลงในภาชนะที่เหมาะสม
10. เก็บอินซูลินไว้ในที่เย็นน
ห้ามใช้กระบอกฉีดยาหรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
ชนิดปากกา
1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2. ถอดฝาปากกาออก
3. ดึงเอาฝาครอบปิดตัวเข็มออกแล้วใส่เข็มเข้ากับตัวปากกา
4. หมุนปรับขนาดอินซูลิน 2 ขีด
5. ถือปากกาโดยหันปลายเข็มขึ้นด้านบน จากนั้นกดปุ่มฉีดจนสุดจนกว่าจะเห็นหยดอินซูลินที่ปลายเข็ม โดยปุ่มหมุนปรับขนาดควรกลับมาที่เลขศูนย์หลังขั้นตอนนี้
6. หมุนปุ่มปรับขนาดให้ได้ตามจำนวนของอินซูลินที่ต้องการ
7. ใช้มือข้างหนึ่งจับปากกาโดยนิ้วหัวแม่มือควรต้องสามารถแตะปุ่มฉีดได้
8. ใช้มืออีกข้างหนึ่งดึงผิวหนังบริเวณที่จะฉีดขึ้นมาเบา ๆ ปักเข็มเข้าไปที่มุม 45 ถึง 90 องศา สอบถามแพทย์หรือพยาบาลว่ามุมใดดีที่สุด ขณะที่เสียบเข็มคาไว้ใต้ผิวหนัง ให้กดปุ่มฉีดจนตัวเลขกลับเป็นเลขศูนย์ กดค้างไว้ 10 วินาที
9. ดึงเอาเข็มออก ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์กดเบา ๆ หากมีเลือดออกขณะที่ดึงเอาเข็มออก ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีด
10. ใส่ฝาเข็มกลับก่อนคลายเกลียวเข็มออกจากตัวปากกา อย่าใส่เข็มค้างไว้ที่ปากกาหากไม่ได้ใช้งาน
11. ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วลงในภาชนะที่เหมาะสม
12. ใส่ฝาปากกากลับและเก็บปากกาอินซูลินไว้ในที่เย็น
ห้ามใช้กระบอกฉีดยาหรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 การเรียนรู้วิธีฉีด อินซูลิน ให้ตัวเองเป็นทักษะที่จำเป็นมาก เพราะยากที่จะหาคนอื่นมาฉีดอินซูลินให้ได้ตลอดเวลา และหากสามารถฉีดได้ด้วยตัวเองจะทำให้คุณมีอิสระและมั่นใจว่าสามารถจัดการกับอาการต่าง ๆ ของโรคเบาหวานได้
ทักษะที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องเรียนรู้นอกเหนือจากการฉีดอินซูลิน คือ วิธีการเก็บอินซูลินอย่างถูกต้อง หากอินซูลินเย็นหรือร้อนเกินไป อินซูลินจะเริ่มสลายตัวและไม่ออกฤทธิ์อย่างที่ควรจะเป็น และนั่นป็นเหตุผลว่าทำไมการเก็บรักษาอินซูลินให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญ