
ข้อมูล T1D
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
การจัดการภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ
เรียบเรียงโดย: 17.03.2025
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า น้ำตาลในเลือด หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลกลูโคสที่อยู่ในกระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดต่ำลงจนเกินไป จะเรียกว่าภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ทั้งนี้ หากน้ำตาลกลูโคสในเลือดมีปริมาณต่ำเกินไป มักเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในทันที
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไปเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดต่อสุขภาพได้ ควรปรึกษาคุณหมอถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม เพื่อดูแลสุขภาพให้แข็งแรงตามเกณฑ์เป้าหมายที่คุณหมอวางแผนการรักษา
สัญญาณและอาการของร่างกายที่แสดงออกเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและอัตราการลดลงของระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
สัญญาณเตือนเมื่อ น้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ :
เหงื่อออก
หิวมาก
หัวใจเต้นเร็ว
พูดไม่ชัด
หงุดหงิด
เวียนศีรษะ
เหนื่อย
ตาพร่ามัว
ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
ตัวสั่น
บางครั้งภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงจนทำให้คุณเป็นลมหรือชักได้
ข้อพึงระวัง: อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากระดับกลูโคสในเลือดต่ำเสมอไป ควรตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดทุกครั้งเมื่อรู้สึกไม่สบาย ห้ามเดาเองเด็ดขาด!
หากคุณมีภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืน อาจทำให้มีอาการดังนี้ ร้องไห้ ฝันร้าย หรือเหงื่อออกตอนกลางคืน (สังเกตได้จากผ้าปูที่นอนและ/หรือชุดนอนเปียก) และอาจตื่นขึ้นมาด้วยอาการมึนงงหรือปวดหัว
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดอาจลดต่ำลงได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
การอดอาหารบางมื้อหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
ออกกำลังกายนานหรือออกกำลังกายหักโหมโดยไม่ได้รับประทานอาหารเพิ่มเติม
ได้รับอินซูลินมากเกินไป
ฉีดอินซูลินในเวลาที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับปริมาณของมื้ออาหาร ของว่าง และวิธีออกกำลังกาย
ระหว่างนอนหลับ ซึ่งเรียกว่า ภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืน
หลังการออกกำลังกายผ่านไปแล้วหลายชั่วโมง ซึ่งเรียกว่า ภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ หลังการออกกำลังกาย
หลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปลดทอนความสามารถของร่างกายในการรักษาระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอย่างฉับพลันได้ นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด มักก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ด้วย
ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ
ได้แก่ :
การฉีดอินซูลินเข้ากล้ามเนื้อแทนที่จะฉีดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
การฉีดอินซูลินเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ใช้บ่อยขณะเล่นกีฬา เช่น การฉีดอินซูลินเข้าที่ต้นขาก่อนการฝึกซ้อมฟุตบอล
ทั้งนี้ สถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นมักเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ
วิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างแน่ชัดว่าคุณมีภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือไม่ คือการตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แต่หากคุณไม่สามารถตรวจระดับกลูโคสในเลือดได้ในทันที ก็ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีดูแลตนเองหากพบสัญญาณเตือนหรืออาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอาการแย่ลงจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานบางรายอาจไม่รู้จักอาการหรือสัญญาณเตือนของภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเป็นประจำ และรู้จักดูแลตนเองเพื่อป้องกันระดับกลูโคสในเลือดต่ำ (ดูคำแนะนำด้านล่างเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ) หากคุณคิดว่าตนเองไม่สามารถรับรู้ถึงอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ควรแจ้งให้คุณหมอหรือเจ้าหน้าที่ที่รักษาโรคเบาหวานทราบ
หากระดับกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คุณต้องหาวิธีดูแลตนเองทันที
โดยขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามมีดังนี้ :
รับประทานน้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะหรือดื่มเครื่องดื่มรสหวานครึ่งแก้ว เช่น น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม (ที่ไม่ใช่สูตรไม่มีน้ำตาล) แล้วพัก 15 นาที หลังจากนั้นจึงตรวจระดับกลูโคสในเลือด
หากระดับกลูโคสในเลือดสูงกว่า 70 มก./ดล. ให้ตรวจซ้ำอีกครั้งใน 20-30 นาทีเพื่อยืนยันว่าระดับกลูโคสในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ (> 70 มก./ดล.)
หากระดับกลูโคสในเลือดยังคงต่ำกว่า 70 มก./ดล. ให้รับประทานน้ำเชื่อม 1 อีกหนึ่งช้อนโต๊ะหรือดื่มน้ำหวานครึ่งแก้ว เช่น น้ำผลไม้หรือน้ำอัดลม (ที่ไม่ใช่สูตรไม่มีน้ำตาล) แล้วพัก 15 นาที และตรวจระดับกลูโคสในเลือดอีกรอบ
หากภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นก่อนมื้ออาหาร (ซึ่งมักเป็นเวลาที่ต้องฉีดอินซูลิน) ควรรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อน และเมื่อระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นจนสูงกว่า 70 มก./ดล. แล้ว ค่อยให้อินซูลินตามปกติ ห้ามเว้นการฉีดอินซูลินเด็ดขาด โดยเฉพาะหากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วงเช้าตรู่
หากพบผู้ที่มีอาการชักหรือหมดสติ อย่าให้รับประทานอาหาร เพราะอาจทำให้เกิดการสำลักได้ (อาหารที่เข้าไปในทางเดินหายใจอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรงได้) กรุณานำตัวผู้ป่วยไปส่งแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาล
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเรื่องที่น่ากังวล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาณและอาการเตือนของภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ และควรทราบว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเกิดภาวะดังกล่าว รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ขึ้นแต่แรก