ข้อมูล T1D

ไอคอน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ

เกี่ยวกับเรา

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

เรียบเรียงโดย: 17.03.2025

Anne-Charlotte Ficheroulle

Pharmacist, Digital Innovation Manager, A4D

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ก่อให้เกิด เบาหวานลงไต ได้อย่างไร

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และความดันเลือดสูง อาจมีผลเสียต่อไต ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ภาวะนี้ เรียกว่า เบาหวานลงไต

ในระยะแรก ผู้ที่มีภาวะเบาหวานลงไตจะยังไม่มีอาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจเกิดภาวะไตวายขึ้น ทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยต้องฟอกไตเพื่อกำจัดของเสียออกจากเลือดแทนการทำหน้าที่ของไต ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสำคัญมาก เพื่อที่จะหาวิธีป้องกันและรักษาไตไม่ให้เกิดความเสียหาย

2. การตรวจคัดกรอง เบาหวานลงไต ในระยะแรก

เนื่องจาก เบาหวานลงไต อาจยังไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ ดังนั้น การตรวจคัดกรองประจำปีเพื่อประเมินภาวะสุขภาพจึงมีความสำคัญมาก

การตรวจคัดกรองโรคทำได้โดยการวัดระดับแอลบูมินในปัสสาวะและระดับครีแอทินินในเลือดเพื่อประเมินสุขภาพของไต หากพบว่าผิดปกติ จะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคและทำการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อชะลออาการของโรคไม่ให้กำเริบ

หาก เบาหวานลงไต กำเริบ ผู้ป่วยอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
– การบวมตามเท้า ข้อเท้า และมือ
– ปัสสาวะเป็นเลือด
– รู้สึกเหนื่อย
– หายใจไม่อิ่ม
รู้สึกไม่สบาย

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากการที่ไตขับน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกายไม่ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ก็อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและคำแนะนำ

3. คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยง เบาหวานลงไต

– ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้
– ควบคุมระดับความดันเลือดไม่ให้สูงเกินไป
รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อสุขภาพตามแนวทางที่วางไว้
– พยายามออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที

4. ปัจจัยเสี่ยงของ เบาหวานลงไต และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ย่อมหมายความว่า มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็น เบาหวานลงไต อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงต่อ เบาหวานลงไต มากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมดังต่อไปนี้

– การสูบบุหรี่ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงสูงที่จะเป็น เบาหวานลงไต นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงปัญหาความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากสูบบุหรี่จัด ควรเลิกโดยเร็วที่สุด

– ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และไม่วางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมนั้นอาจทำให้โรคเบาหวานแย่ลงได้ เมื่อคุณไม่สามารถควบคุมโรคได้ ก็ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น

– รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น เบาหวานลงไต ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด

– การไม่ออกกำลังกายและการมีน้ำหนักเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้ การออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานลงไต แต่ยังช่วยควบคุมโรคเบาหวานอีกด้วย

– ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต มักมีความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพไตเพิ่มขึ้น หากใครเป็นทั้งโรคเบาหวานและมีประวัติโรคไต จำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ทำให้เสี่ยงสูงที่จะเป็น เบาหวานลงไต

ประมาณ 30-40% ของผู้ป่วยโรคโรคเบาหวานนั้นมีการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายในระยะเวลา 10-30 ปี ดังนั้นควรหลีกเหลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

5. ข้อควรรู้

เบาหวานลงไต นับเป็นอาการแทรกซ้อนที่น่ากังวลอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ไม่ใช่แค่การควบคุมโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อไต

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับ เบาหวานลงไต คือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นแต่แรก ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะทำให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับโรคเบาหวานได้

ทำแบบทดสอบเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่ไตกัน !

ไอคอน ข้อสงวนสิทธิ์: