
ข้อมูล T1D
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
เกี่ยวกับเรา
ออกกำลังกาย เบาหวาน การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไรต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
เรียบเรียงโดย: 19.03.2025
การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์และสำคัญต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของทุก ๆ คน โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เนื่องจากการออกกำลังกายมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกกำลังกายและผลกระทบต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ที่นี่
หนึ่งในความเข้าใจผิดที่พบบ่อยคือ การออกกำลังกายไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งที่จริงแล้ว การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถออกกำลังกายกลางแจ้งและเล่นกีฬาได้ ในทางกลับกัน การออกกำลังกายอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ค้นพบความชอบใหม่ ๆ และได้สำรวจสถานที่ใหม่ ๆ เสียด้วยซ้ำ
หากเตรียมพร้อมร่างกายเป็นอย่างดีและรู้ว่าต้องระวังอะไรบ้าง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก็สามารถที่จะเพลิดเพลินไปกับการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย แถมยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย
ควรบอกโค้ชหรือเพื่อนว่าคุณเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และสอบถามให้มั่นใจว่าพวกเขารู้วิธีช่วยเหลือหากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
แบ่งปันความรู้ที่ได้จาก HelloType1 ให้กับโค้ชและเพื่อน ๆ
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกายและตลอดระยะเวลาที่ออกกำลังกาย
รับประทานของว่างหากจำเป็น
เตรียมของว่าง เช่น กราโนล่าบาร์ และเครื่องดื่มรวมถึงเครื่องดื่มอิเล็กโทรไลต์ เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำมะพร้าว
อย่าลืมนำชุดตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตัวมาด้วย สวมถุงเท้าผ้าฝ้ายและรองเท้ากีฬาที่ใส่แล้วพอดีตัวและสวมใส่สบายเท้า
นอกจากนี้ สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และการออกกำลังกายคือ การออกกำลังกายเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มากขึ้น อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อขนาดของอินซูลินที่ควรได้รับ อาจจำเป็นต้องได้รับมากขึ้นหรือน้อยลง ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือพยาบาลประจำตัวก่อนเสมอ
หากอากาศร้อน อย่าลืมทาครีมกันแดด สวมหมวก และสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดผิวและระบายอากาศได้ดี
หากอากาศหนาว ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หลายชั้นเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
คอยสังเกตอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะระหว่างการออกกำลังกายเป็นเวลานาน
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ เกี่ยวกับการรับมือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
หลังจากออกกำลังกาย ควรตรวจดูว่าการออกกำลังกายส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร และปรับอินซูลินให้เหมาะสมหากจำเป็น
หลังจากออกกำลังกายแล้ว ควรตรวจดูเท้าว่ามีแผลพุพอง ระคายเคือง รอยบาด หรือมีอาการบาดเจ็บอื่น ๆ หรือไม่
รักษาความสะอาดของเท้าหลังจากออกกำลังกาย ทั้งล้างทำความสะอาดเท้า เช็ดให้แห้ง รวมถึงทาโลชั่นหากจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
หากรู้สึกว่ามีอาการกดเจ็บที่เท้า ให้ยกขาขึ้นไว้ที่สูงหรือแช่ในน้ำอุ่น
เข้าพบคุณหมอหรือพยาบาล หากยังมีอาการบาดเจ็บหลังจากผ่านไปแล้ว 2 วัน
บางครั้งภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นภายใน 6 ถึง 15 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย
หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณยังคงลดลงหลังออกกำลังกาย คุณอาจต้องลดปริมาณอินซูลินก่อนและหลังออกกำลังกาย รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากคุณหมอหรือพยาบาล
ประเภทของการออกกำลังกาย ความหนักเบา และระยะเวลาของการออกกำลังกาย (ดูตารางด้านล่าง)
ปริมาณอินซูลินที่เหลืออยู่ในร่างกาย (นับตั้งแต่ฉีดอินซูลินครั้งล่าสุด)
เวลาและชนิดของอาหารมื้อล่าสุด
ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนออกกำลังกาย (โดยทั่วไปควรอยู่ที่ 7 - 10 มิลลิโมล/ลิตร หรือ 126 –180 มก./เดซิลิตร)
ระดับความแข็งแรงของร่างกาย
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 มักมีปฏิกิริยาต่อการออกกำลังกายและอินซูลินแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงควรทำความรู้จักร่างกายของตัวเองให้มากขึ้น
การที่ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนระหว่างและหลังออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องปกติ
ฝึกฝน ทดลอง และจดบันทึก รวมไปถึงเรียนรู้ว่าร่างกายทำงานอย่างไรระหว่างและหลังเล่นกีฬาและทำกิจกรรมกลางแจ้ง ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อพูดถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และการออกกำลังกาย
ควรตรวจร่างกายเป็นประจำและหมั่นปรึกษาขอคำแนะนำกับคุณหมอหรือพยาบาล
เรียนรู้วิธีการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่พร้อมกับเพลิดเพลินไปกับความสนุกสนานและประโยชน์ของการออกกำลังกาย